ถ้าจำกันได้ ตอนวิกฤติปี 40 สถาบันการเงิน 58 แห่งต้องปิดตัว เพราะคนแห่ถอนเงินจนขาดสภาพคล่อง
หลาย ๆ คนก็มองว่าครั้งนี้ โควิทก็อาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ อาจจะคล้าย ๆ กันก็ได้ ดังนั้นผมจึงขอเพิ่มเติมข้อมูล ให้ว่า เราควรฝากเงินที่ไหนอย่างไร เพื่อให้มีเงินต้นคืน ซึ่งจริง ๆ แล้วหลังจากวิกฤติต้มยำกุ้งครั้งนั้น ไทยก็ได้มีสถาบันคุ้มครองเงินฝากเกิดขึ้น
โดยการคุ้มครองเงินฝาก จะคุ้มครองในลักษณะ 1 รายชื่อผู้ฝาก ต่อ 1 สถาบันการเงิน โดยนำเงินฝากของผู้ฝากแต่ละราย ในทุกสาขาและทุกบัญชีมาคำนวณรวมกัน
ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ได้รับความคุ้มครอง คือ เงินฝากที่เปิดไว้ที่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองเงินฝาก เป็นเงินสกุลบาทและเป็นบัญชีเงินฝากภายในประเทศ ในปัจจุบันมี 5 ประเภท ได้แก่
- เงินฝากกระแสรายวัน
- เงินฝากออมทรัพย์
- เงินฝากประจำ
- บัตรเงินฝาก
- ใบรับฝากเงิน
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินหรือเงินฝากบางประเภทไม่ได้รับการคุ้มครอง เช่น
- เงินฝากประเภทที่เป็นเงินตราต่างประเทศ
- เงินลงทุนในตราสารต่าง ๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุน (SSF, RMF)
- เงินฝากในสหกรณ์
- แคชเชียร์เช็ค ตั๋วแลกเงิน
- เงินอิเล็กทรอนิกส์
- ผลิตภัณฑ์ประกันประเภทออมทรัพย์ ที่ออกโดยบริษัทประกัน
โดยมีสถาบันการเงินที่มีการคุ้มครอง แล้ว ตามรายชื่อดังนี้
ธนาคารพาณิชย์ (19 แห่ง)
- ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารเอเอ็นแซด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย ทรัสต์ (ไทย) จำกัด (มหาชน)
สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง)
- ธนาคารเจพีมอร์แกน เชส
- ธนาคารโอเวอร์ซี-ไชนีส แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารซิตี้แบงก์
- ธนาคารอาร์ เอช บี จำกัด
- ธนาคารแห่งอเมริกา เนชั่นแนล แอสโซซิเอชั่น
- ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด
- ธนาคารดอยซ์แบงก์
- ธนาคารมิซูโฮ จำกัด
- ธนาคารบีเอ็นพี พารีบาส์
- ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น
- ธนาคารอินเดียน โอเวอร์ซีส์
บริษัทเงินทุน (2 แห่ง)
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ (3 แห่ง)
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เอสเบ จำกัด
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เวิลด์ จำกัด
- บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ แคปปิตอล ลิ้งค์ จำกัด
ซึ่ง หากสถาบันการเงินดังกล่าวปิดตัวลง เราก็จะได้รับเงินคืน
ปัจจุบันอยู่ที่ สถาบันการเงินละ 5 ล้านบาท แต่ ปีหน้าจะเหลือแค่ 1 ล้านบาท

อธิบายง่าย ๆ คือ ถ้าเรามีเงิน หลายล้าน อยากฝากธนาคารให้คุ้มครองทั้งหมด แม้วันนึงธนาคารจะล้มละลาย หรือปิดตัวลง ปีหน้า เราควรจะฝากทั้งหมด ธนาคารละ 1 ล้านบาท ซึ่งถ้าเราฝากตาม list ด้านบน เงินต้นที่คงอยู่แน่ ๆ เลย คือ 30 ล้านแหละ (ธนาคารพาณิชย์ (19 แห่ง) และ สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ (11 แห่ง) รวมกันได้ 30 ธนาคารพอดี) เกินกว่านั้นคงต้องหาตุ่มฝังดินไว้แล้วแหละ (อันนี้แซว)
อ้างอิง
https://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/556364
http://www.dpa.or.th/articles/view/who-is-protected
http://www.dpa.or.th/articles/view/protected-deposit-products
http://www.dpa.or.th/articles/view/list-of-insured-financial-institutions
http://www.dpa.or.th/articles/view/1356